วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2552

ปราสาทหินพิมาย

เมืองพิมายและปราสาทหินพิมาย
                เมืองพิมายเป็นเมืองประวัติสาสตร์ที่สำคัญทั้งของภูมิภาคและของประเทศเดิมชื่อ วิมายปุระตั้งอยู่บริเวณตอนต้นของลำน้ำมูล เส้นเลือดใหญ่ของดินแดนอีวานปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอพิมาย  จังหวัดนครราชสีมา ในครั้งอดีต เมืองพิมายตั้งอยู่ในทำเลที่เป็นศูนย์กลางของการคมนาคมที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถติดต่อได้กับบ้านเมืองทางตอนเหนือในลำน้ำชี-โขง ถึงประเทศลาว และทางตอนใต้กับอาณาจักขอม ด้วยเหตูนี้เมืองพิมายจึงมีทางเข้าหลักอยู่ทางทิศใต้ซึ่งเชื่อมต่อกับเส้นทางโบราณที่เชื่อมไปสู่ดินแดนขอม
            ต่อมาประมาณพุทธศักราช ๑๓-๑๔ บ้านเมืองบริเวณนี้รับอารยธรรมอินเดียมีการนับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายานเป็นหลัก ดังที่พบร่องรอยของศาสนสถานและพระพุทธรูปในหลาย ๆ ท้องที่ และในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ เป็นเวลาที่มีการตืดต่อรับอิทธิพลวัฒนธรรมขอมจากกัมพูชาอย่างใกล้ชิด พิมายได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นเมือง ที่ศูนย์กลางของการปกครองและการคมนาคม มีการสร้างเมืองเป็นแบบขอมที่มี ปราสาทหินพิมาย เป็นพุทธศาสถานสำคัญใจกลางเมืองปราสาทหินนี้มีรูปแบบเฉพาะทางสถาปัตยกรรมซึ่งได้มีการต่อเติมและขยายไปเป็นปราสาทในศิลปะเขมรที่ใหญ่ที่สุดของภาคอีสาน
            พลเมืองของพิมายประกอบด้วยกลุ่มชนต่าง ๆ ทั้งที่มาแต่ดั้งเดิมและอพยพเคลื่อนย้ายมาตั้งหลักแหล่ง มีทั้งพวก มอญ-เขมร ไท-เสียม ไท-โคราช ลาวและเขมร พัฒนาการของเมืองพีมายสืบเนื่องมาโดยตลอด   เห็นได้ชัดจากชื่อเมืองที่ไม่เคยลืมเลือนจวบจนปัจจุบัน ชื่อของเมืองพิมายมีการกล่าวถึงในพงศาวดารและเอกสารทางประวัติศาสตร์มานับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนกระทั่งถึงกรุงรัตนโกสินทร์โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมืองพิมายคือที่มั่นของกรมหมื่นเทพพิพิธเป็นการรวบรวมผู้คนเพื่อกู้กรุงศรีอยุธยาจากพม่าจนกระทั่งถูกปราบปรามในสมัยกรุงธนบุรี
                เมืองพิมายมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่สัมพันธ์กับเรื่องพระปาจิตต์-นางอรพิมในปัญญาสชาดก เป็นเรื่องที่มีการถ่ายทอดด้วยการบอกเล่าของคนในท้องถิ่น จนกลายเป็นประวัติศาสตร์และชื่อเสียงของสถานที่ต่างๆ ในบริเวณนั้นและที่ใกล้เคียง เรื่องปาจิตต์-อรพิม นับได้ว่าเป็นนิยายในระบบความเชื่อ ที่ทำให้เมืองพิมายเป็นที่เมืองประวัติศาสตร์ลืองซึ่งยังคงมีชีวิตวิญญาณ ไม่เคยถูกทอดทิ้งไปอย่างเช่นเองโบราณอื่นอีกหลายเมือง ในปี พ.ศ.๒๔๗๘ กรมศิลปกรประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทหินพิมายเป็นโบราณสถานของชาติ และเริ่มบูรณะปราสาทตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๔ และพ.ศ. ๒๔๙๗
                แผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๕ กำหนดให้เมืองโบราณพิมายเป็นโครงการอุทยานประวัติศาสตร์ โครงการอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๕ ต่อมาได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทยเมื่อ ๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๒
                การสร้างปราสาทหินในประเทศไทย
                ในดินแดนภาคอีสานของประเทศไทยรวมทั้งบริเวณพิมายมีวัฒนธรรมเก่าแก่เป็นของตนเองมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์การสร้างปราสาทหินในประเทศไทยส่วนใหญ่จะพบมากในภาคตะวันอกเฉียงเหนือ  เกี่ยงข้องกับศิลปวัฒนธรรมแบบขอมซึ่งได้แพร่และมีอิทธิพลต่อบ้านเมืองในอีสานอย่างมากในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๙ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านศิลปวัฒนธรรมทางความเชื่อ มีการสร้างเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยม สร้างแอ่งเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่เรียกว่า บาราย ศาสนสถานขนาดใหญ่ที่มีรูปแบบ ปราสาท ตลอดจนมีการทำเครื่องปั้นดินเผาแบบขอม เป็นต้น
                ปราสาทหินในภาคอีสานก่อสร้างด้วยอิฐ บ้างก่อด้วยศิลาแลง ที่รู้จักกันคือปราสารทหิน เป็นปราสาทสำคัญที่กษัตริย์หรือเจ้าเมืองสร้างขึ้นหรือร่วมสร้าง การสร้างปราสาทไม่ใช่เป็นการสร้างที่อยู่อาศัยแต่ใช้เป็น ศาสนสถาน มักนิยมก่อสร้างเพิ่มเติมต่อกันมาหลายยุคหลายสมัย ปราสาทหินมักจะทำด้วยหินที่มีพื้นถิ่นมาจากาคตะวันออกเฉียงเหนือเองที่เรียกว่าหินทราย หินทรายที่มีการก่อสร้างปราสาท ๒ ประเภทคือ หินทรายแดงและหินทรายขาวหม่น นอกจากนี้มีการใช้วัสดุอื่นเช่นศิลาแลง ซึ่งนิยมใช้เป็นหินรองพื้นและทองแดงซึ่งสันนิษฐานว่าใช้บุปรอทยอดปราสาทด้วย
                การสร้างปราสาทหินนอกจากจะให้เป็นศาสนสถานและเทวสถานในศาสนาฮินดูแล้ว ยังเกี่ยวกับความเชื่อเรื่อง ลัทธิการบูชาบุคคล ที่นิยมสร้างประติมากรรมรูปเทพเจ้าหรือพระพุทธรูปให้เป็นตัวแทนของบุคคลผู้สร้างเคารพนั้นได้ไปสถิตรวมอยู่กับเทพเจ้าหลังจากสิ้นชีวิต แล้วสร้างปราสาทให้เป็นที่ประดิษฐานประติมากรรมนั้นๆ นอกจากนี้เครื่องประดับปราสาทเช่น หน้าบัน ทับหลัง ก็จะนิยมสลักภาพเรื่องของเทพเจ้าและเรื่องรามายณะ (รามเกียรติ์) ซึ่งสัมพันธ์กับความเชื่อและการนับถือเทพเจ้าคติศาสนาฮินดู
                ปราสาทหินพิมาย
                ปราสาทหินพิมายเป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธสถานในลัทธิมหายาน สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ กษัตริย์ขอมในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ มีรูปแบบศิลปะขอมแบบบาปวนและนรวัดที่มีความงดงามอย่างยิ่ง ปราสาทหินแห่งนี้เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนามหายานประกอบด้วยอาคารสำคัญ ๓ หลังที่อยู่ในบริเวณลานชั้นใน คือ ปรางค์ใหญ่ ปรางค์พรหมทัต และ ปรางค์หินแดง

แผนที่ทั้งหมดของพุทธสถานแห่งนี้มีแปลนเป็นรูปกากบาท โดยการสร้างซุ่มมีคูหาติดต่อกันทั้ง ๔ ทิศ เห็นเป็นรูปกากบาทอย่างชัดเจน
                ปราสาทหินพิมายตังอยู่ตรงศูนย์กลางของเมืองพิมาย ที่ล้อมรอบเมืองด้วยกำแพงสี่เหลี่ยมทำด้วยหินทรายแดง มีประตูเมืองอยู่ทั้ง ๔ ทิศ โดยประตูทิศใต้ที่เรียกว่า ประตูชัย เป็นทางเข้าหลักเพราะรับกับเส้นทางโบราณที่ตัดสู่เมืองพระนครของเขมร นักโบราณคดีพบหลักฐานที่บริเวณด้านนี้มากกว่าประตูด้านอื่นๆ ผ่านประตูชัยเข้ามาก่อนจะไปถึงทางเข้าสู่ปราสาทหินพิมาย ทางทิศตะวันตกมีอาคารอยู่หลังหนึ่งเรียกว่า คลังเงินหรือธรรมศาลา มีผู้พบเหรียญสัมฤทธิ์โบราณทีนี้ ด้านหนึ่งหล่อเป็นรูปครุฑหรือหงส์ อีกด้านหนึ่งเป็นตัวอักษรโบราณ นอกจากนี้มีทับหลังรูปบุคคลกำลังหลั่งน้ำมอบม้าแก่พราหมณ์ แต่จนบัดนี้ยังไม่มีใครรู้ว่าอาคารนี้ใช้ทำอะไร จากธรรมศาลาสู่ สะพานนาค ที่นำท่านเข้าสู่ปราสาทหินพิมาย สองข้างเชิงบันไดตั้งสิงห์จำหลักเป็นสง่าอยู่ ถัดขึ้นไปเป็นลานหินรูปกากาบาทที่ทำราวเป็นลำตัวนาค สะพานี้มีความหมายเปรียบเสมือนเป็นสะพานที่ทอดสู่เขาพระสุเมรุอันเป็นที่อยู่ของเทพเจ้า จากสะพานนาคผ่านซุ่มประตูสู่บริเวณ พลับพลา ประบริเวณด้านนอกลานพลับพลาตั้งอยู่นี้ ใกล้กับประตูซุ้มกำแพงด้านตะวันตกจะมีซากอาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้น สร้างด้วยหิน นักโบราณคดีเรียกว่า บรรณาลัย สันนิษฐานว่าอาจเป็นที่เก็บรักษาตำรับตำราทางศาสนา หรือเป็นที่ประทับสำหรับกษัตริย์เมื่อเสด็จมาประกอบพิธี ต่อจากบริเวณลานชั้นนอกเข้าไปข้างในคือ ระเบียงคด หรือกำแพงชั้นในซึ่งยกฐานสูง เป็นทางเดินมีหลังคาทะลุถึงกันตลอดทั้งสี่ด้าน มีซุ้มประตู ๔ ทิศ ประตูใหญ่อยู่ทางทิศใต้ตรงกับประตูกำแพงชั้นนอกและประตูเมือง
                ถัดจากนี้ไปคือบริเวณลานชั้นในอันเป็นที่ตั้งของปรางค์ทั้งสามองค์ กล่าวคือ ปรางค์ใหญ่ คือองค์ประธานของปราสาทหินพิมาย มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยก่อสร้างด้วยศิลาทรายสีขาวล้วน ส่วนสำคัญขององค์ประธานประกอบด้วยส่วนยอดมณฑปที่เชื่อมต่อกับเรือนธาตุทางทิศใต้ (ต่างจากสถาปัตยกรรมขอมแบบอื่นๆ ที่มณฑปอยู่ทางทิศตะวันออก) และทั้งหมดตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ฐานขององค์ปรางค์ประธานสูงสองชั้น เพราะปราสาทหินพิมายอยู่บนพื้นที่ราบ มีใช่อยู่บนเขาจึงต้องยกฐานให้สูง ตามความเชื่อมว่าที่สถิตของเทพเจ้าต้องตั้งอยู่บนที่สูงเช่นบนภูเขา ฐานขององค์ประธานสลักลวดลายต่างๆ เช่นลายประจำยาม และลายกลีบบัวโดยมีส่วนประกอบที่สำคัญขององค์ปรางค์ได้แก่ มณฑป คือส่วนของอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เชื่อมต่อกับเรือนธาตุของปรางค์ประธานทางทิศใต้ มีมุขยื่น ๓ ทางคือ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก และทิศใต้ มีบันไดขึ้นด้านข้าง ส่วนทางด้านใต้นั้นไม่มีบันไดขึ้น  เรือนธาตุ คืออาคารรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพิ่มมุม มีมุขประกอบทั้ง ๔ ด้าน ตั้งอยู่เหนือฐานบัวลูกแก้วอกไก่ มีลวดลายประดับผนังภายนอก ภายในเรือนธาตุมีห้องสี่เหลี่ยม เรียกว่า ห้องครรภคฤหะ สำหรับประดิษฐานรูปเคารพซึ่งเชื่อว่าเป็นรูปเคารพที่สำคัญที่สุดของพุทธสถานนี้ มุมห้องด้านทิศตะวันออกมีร่องน้ำมนต์หรือ ท่อ โสมสูตร ใช้สำหรับการกรองน้ำจากการประกอบพิธีกรรมในห้องนี้ต่อออกไปมุมปราสาทข้างนอก ได้กล่าวมาแล้วว่าปราสาทหินพิมายนั้นเป็นพุทธศาสถานแบบมหายาน เพราะมีหลักฐานสำคัญด้านโบราณคดีที่ยืนยันว่าปราสาทหินพิมายเป็นพุทธสถานมหายานคือภาพจำหลักที่ประทับหลัง ๔ ชิ้น ซึ่งอยู่เหนือประตูชั้นในด้านหน้ารอบเรือนธาตุของปรางค์ประธานได้แก่
                ภาพจำหลักด้านทิศใต้ เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก ประทับอยู่ระหว่างกลางพระพุทธรูปทรงเครื่องปางสมาธิ ๕ องค์ ด้านล่างจำหลักเป็นรูปอุบาสกอุบาสิกานำของมาถวาย
                ภาพจำหลักด้านทิศตะวันตก แสดงเรื่องพุทธองค์เทศนาแกพญามารซึ่งเข้าเฝ้าพร้อมบริวารมีขบวนราชยานคานหาม และเครื่องสูงพร้อมทั้งพระพุทธรูปทรงเครื่องประทับยืนระหว่างต้นไม้อยู่แนวบน พนักงานชาวประโคมฟ้อนรำอยู่แนวล่าง
                ภาพจำหลักด้านทิศเหนือ แสดงรูปของพระวัชรสัตว์ ๕ พระองค์ ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ประจำองค์พระอาทิพระพุทธเจ้าในพระพุทธศาสนามหายาน มุมบนสุดด้านซ้ายสลักเป็นรูปนางยักษ์หาริติกำลังอุ้มเด็ก ๕ คนอยู่มุมบนสุด้านขวามือ
                ภาพจำหลักทิศตะวันออก แนวบนสลักเป็นรูปพระพุทธรูปทรงเครื่องปางสมาธิ ๑๐ องค์ เทพบุตร เทพธิดากำลังฟ้อนรำอยู่ในแนวล่าง ตรงกลางเป็นรูปจำหลักประติมากรรม ๔ พักตร์ ๘ กร เชื่อกันว่าเป็นรูปพระโพธิ์สัตว์ไตรโลกยวิชัยกำลังทรงฟ้อนรำ
                นอกจากนี้ยังมีภาพจำลองหลักเกี่ยวกับเรื่องราวในคติศาสนาฮินดูและเรื่องราวรามายณะ ตกแต่งหน้าบันและเสาด้านนองของปรางค์ประทานปราสาทหินพิมาย ได้แก่
                ทับหลังทางใต้ มีภาพการสู้รบเรื่องรามเกียรติ์และพุทธประวัติปางมารวิชัยและแม่พระธรณีบีบมวยผมให้น้ำท่วมแก่ทัพมาร
                หน้าบันประตูมุขเรือนทิศตะวันตก แสดงฉากรบพุ่งในเรื่องรามเกียรติ์ตอนพระรามจองถนน
                หน้าบันมุขด้านทิศตะวันตกและทับหลัง สลักภาพพระกฤษณะกำลังยกภูเขาโควรรธนะ พระยาครุฑเหาะมาช่วยพระรามและพระลักษมณ์ที่กำลังถูกศรนาคบาศ
                หน้าบันทิศเหนือ และทับหลัง แสดงการรบพุ่งเรื่องรามเกียรติ์ ทับหลังเป็นรูปพระนารายณ์ ๔ กร ทรงถือจักร สังข์ คทา และดอกบัว
                หน้าบันประตูมุขเรือนธาตุทิศตะวันออก  แสดงตอนเท้ามาลีวราชกำลังฆ่ายักษ์วิราธ เดิมเป็นเทวดาถูกพระอิศวรสาปให้เป็นยักษ์เพราะความเจ้าชู้ จะพ้นคำสาปต่อเมื่อพระนารายณ์หรือพระรามเหยียบให้จมธรณี
หน้าบันมุขมณฑปด้านตะวันออกสลักรูปพระอิศวรและพระอุมาทรงโคนนทิอยู่แถวบน พระนารายณ์ทรงครุฑ พระอินทร์ทรงช้าง   พระพรหมทรงหงส์  ฤๅษี และเทวดาอยู่เบื้องหลัง ส่วนทับหลังมีภาพบุคคลนั่งในเรือ
                ส่วนยอด คือหลังคาพุ่มเหนือเรือนธาตุ ส่วนยอดของปราสารทหินพิมายต่างจากปราสาทเขมรโดยทั่วไป คือมีครุฑแบกทั้ง ๔ ทิศ กลีบขนุนปรางค์สลักเป็นรูปเทพประจำทิศต่างๆ ส่วนบนสุดของปรางค์เป็นรูปดอกบัว หลังคาปราสาทนครวัดในสมัยต่อมา
                ปรางค์พรหมทัต อยู่ทางด้านซ้ายของปราสาทองค์ใหญ่ ปราสาทนี้ก่อสร้างด้วยศิลาแลง พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ แห่งอาณาจักรของโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. ๑๗๒๔-๑๗๖๓ เมื่อครั้งที่ทรงบูรณะปราสาทหินพิมาย
                อาจารย์มานิตย์ วัลลิโภดม ผู้ควบคุมการขุดแต่งปราสาทหินพิมายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้บันทึกไว้ว่าที่นี้เคยเป็นที่ตั้งรูปประติมาหินจำหลัก ๓ รูป เรียกชื่อสืบกันมาว่า รูปท้าวพรหมทัต รูปพระปาจิตต์ และรูปนางอรพิม แต่ได้บรรยายไว้เพียง ๒ รูป คือ
                ประติมากรรมรูปท้าวพรหมทัตนั่งขัดสมาธิราบพระหัตถ์ประนบอยู่เหนือพระอุระ (ปัจจุบันพระหัตถ์หักหายไป) นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสสันนิษฐานว่ารูปนี้เป็นรูปประติมากรรมฉลองพระองค์พระเจ้าวรมันชัยที่ ๗ กษัตริย์ของ เหมือนกับรูปหินจำหลักซึ่งอยู่ในพิพิธภัณฑสถานเมืองพนมเปญ
                ประติมากรรมรูปนางอรพิมนั่งคุกพระราชนุ ปราศจากเศียรและกรทั้งสองข้างปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
            ปรางค์หินแดงอยู่ทางด้านขวาของปรางค์ประธาน สาสนสถานแห่งนี้มีฐานร่มกับหอพราหมณ์ สร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ด้วยเหตุที่ปรางค์องค์นี้ก่อสร้างด้วยหินทรายแดงจึงเรียกว่าปรางค์หินแดง สิ่งที่สำคัญอื่นๆ บริเวณปราสาทหินพิมายที่น่าสนใจคือ
                เสาประกอบพิธีบูชาไฟ เป็นเสาหินรูปสี่เหลี่ยมมีเดือยปักอยู่ข้างบน ตั้งอยู่มุมปราสาทด้านทิศเหนือ สันนิษฐานกันว่าเป็นเสาสำหรับตั้งโคมประกอบพิธีบูชาไฟแบบอินเดีย อาจใช้เพื่อบูชาไฟถวายพระนารายณ์
                พลับพลา อาคารซึ่งสร้างเป็นรูปกากบาทเชื่อมกับระเบียงคดแผนผังของพลับพลาปราสาทหินพิมายนี้ได้รับอิทธิพลทางรูปแบบแก่ปราสาทหินนครวัด และปราสาทหินอื่นๆ ที่สร้างขึ้นในสมัยหลัง เช่น ปราสาทเมืองสิงห์ ปราสาทตาพรหม ปราสาทพนมรุ่ง
                กุฏิฤๅษี  เชื่อกันว่าเป็นอโรคยาศาสสร้างสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้มีการค้นพบจารึกหลักหนึ่งที่พิมาย เป็นการจารึกอักษรขอมภาษาสันสกฤต ที่กล่าวถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอโรคยาศาลขึ้น จเป็นได้ว่าจารึกหลักนี้มาจากบริเวณกุฏิฤๅษี
                สระน้ำ มี ๔ สระ อยู่ ๔ มุมของโบราณสถานนี้ที่บริเวณลานชั้นนอก เดิมเคยมีวัดตั้งอยู่ ทั้งสระและวัดคงจะสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย เมื่อครั้งกรมหมื่นเทพพิพิธมาตั้งตัวที่พิมาย ต่อมาวัดทั้งสี่ได้ย้ายไปนอกปราสาทหิน
            โบสถ์เจ้าพิมาย เดิมตั้งใกล้กับซุ้มประตูตะวันตกกับบริเวณบรรณาลัยสันนิษฐานว่าเป็นอาคารสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ปัจจุบันได้ย้ายไปอยู่วัดเดิมทางทิศเหนือของปราสาทหินพิมาย ภายในโบสถ์มีพระพุทธรูปและตู้พระธรรมลงรักเขียนทอง ศิลปะอยุธยาตอนปลาย
                เมรุพรหมทัต เป็นซากเจดีย์ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทหินพิมายสร้างในสมัยที่กรมหมื่นเทพพิพิธได้มาประทับอยู่ที่พิมาย
                อุทยานประวัติศาสตร์พิมายนั้นได้อนุรักษ์ซากปรักหักพังของโบราณสถานโดยการซ่อมแซมให้ดีขึ้น  เพื่อให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม และเพื่อส่งเสริมการศึกษาทางศิลปวัฒนธรรมให้คนยุคปัจจุบันได้เรียนรู้ดูเหมือนว่าการอนุรักษ์ปราสาทหินพิมายจะบรรลุวัตถุประสงค์นั้น แต่อย่างไรก็ดีเรายังต้องการสร้างความผูกพันหวงแหนให้เกดขึ้นในหมู่ประชาชนอีกด้วย เพราะคนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจหรือรู้ซึ่งในความสัมพันธ์ระหว่างอิฐ หิน ดิน ทราย ที่ก่อสร้างเป็นโบราณวัตถุสถานกับท้องถิ่นดีนัก พัฒนาการของเมืองพิมายอับประกอบด้วยชุมชนผู้คน และปราสาทหินพิมายควรต้องไปด้วยกัน  และเราคือทายาทที่จะรับมรดกความผูกพันนี้  เพราะนี่คืออดีตของเราด้วย
               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น